วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ท่านั่งปั่นเสือหมอบ

ท่านั่งปั่นเสือหมอบ
ถ้าพี่นั่งบนอาน เอามือจับที่มือบน ( ตรงที่โค้งขึ้นชี้ไปด้านหน้า , ไม่ใช่มือล่างที่โค้งลงนะครับ ) ถ้าท่า
นั่งพี่ลงตัว พี่ควรจะเห็นแฮนด์บังดุมหน้ามิดพอดี
ท่านั่งอานเสือหมอบนั้น ค่อนข้างจะทรมานสักนิด ตำแหน่งหน้าหลังของอานควรจะserious ทิ้งสายลูกดิ่ง
ผ่านกลางลูกสะบ้า ตัดกับแกนบันได
ในขณะที่ก้านบันไดขนานกับโลก , ด้วยตำแหน่งนี้พี่จะสามารถปั่นด้วยรอบขาที่สูงในระดับ 90-100 รอบ
ต่อนาทีได้โดยไม่มีปัญหา
แต่ถ้าหากพี่ถอยเบาะไปด้านหลังแบบเสือภูเขา ซึ่งจะทำให้ปั่นได้ดีในรอบขาที่ต่ำลง พี่ก็จะมีปัญหาในการ
ปั่นระยะทางไกลๆหรือปวดเข่าได้ไม่ยากนัก
เนื่องจากจะต้องใช้เกียร์หนัก ใช้รอบขาต่ำกว่าที่ควร ถ้ารถพอดีกับตัวพี่ รวมไปถึงความยาวStem OK
แฮนด์ควรจะบังดุมหน้ามิด
ความสูงของเบาะเสือหมอบนั้นบอกตรงๆว่าseriousมากกกกกกก ผมเองลงทุนเอาcutterบากรอยไว้
แล้วขยับขึ้นหรือลงทีละมิลลิเมตร
พี่เชื่อหรือเปล่าหละว่าทุกๆ1มิลลิเมตรที่ขยับขึ้นหรือลงนั้น ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันได้ อันนี้พี่ต้องลองเอง
ครับ

ความสูงของเบาะที่ดีที่สุด คือความสูงที่สูงที่สุดเท่าที่พี่จะปั่นได้ พูดแบบนี้กวนไหมเนี่ย พี่ลองก้มตัวลงแล้ว
จับที่มือล่าง
แล้วปั่นด้วยรอบขาสัก 90 รอบต่อนาที เป็นระยะทางสักกม. ถามตัวเองว่าสบายไหม ถ้าเบาะสูงเกินไป
สิ่งที่ฟ้องออกมาคือจะรู้สึกไม่สบายทางด้านหลังเข่าและหลังต้นขา มันจะตึงแบบทรมาน
ถึงแม้ว่าจะวัดในขณะอยู่นิ่งๆว่าเข่าหย่อนเล็กน้อยในตำแหน่งที่เหยียบบันไดลงสุดแล้วก็ตาม
สิ่งที่พี่ควรจะทำคือ ลดความสูงของอานลงสัก 1มิลลิเมตร แล้วลองปั่นดูใหม่ ปรับจนกว่าจะรู้สึกสบาย
เบาะสูงจะลดอุบัติการณ์ของการสึกหรอของกระดูกอ่อนหลังลูกสะบ้า และให้แรงให้การกดบันไดได้ดีกว่
เบาะต่ำ
และยังควงปั่นบันไดด้วยรอบสูงได้ง่ายกว่า และยังสามารถปั่นด้วยข้อเท้า( ankling )ได้สะดวกกว่า
เบาะต่ำอีกด้วย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องสูงอย่างพอดีด้วย ส่วนเรื่องที่พี่จะยกมือเกียร์เบรคให้สูงขึ้น เพื่อปั่นสบายขึ้นนั้น ผมเห็น
ว่าอย่าทำเลยครับ
ถ้าหากจะปั่นเสือหมอบสิ่งที่ต้องทำใจไว้เลยว่าระยะแรกๆจะปวดหลัง ปวดคอ เมื่อยคอ เมื่อยเอว
เพราะว่าจะเผลอเกร็ง
วิธีแก้ไขคือจะต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลัง เช่นทำ back extension , การวิดพื้นก็ช่วยบริหารกล้าม
เนื้อต้นแขน ไหล่ และหลังด้วยเช่นกัน
ดูๆแล้ววิดพื้นจะได้ประโยชน์คุ้มค่าพอสมควร เมื่อปั่นไปเรื่อยๆ ก็จะชินกับมุมที่ก้มมากๆ ก
ล้ามเนื้อหลังและเอวก็จะแข็งแรงพอที่จะพยุงร่างกายไว้ได้โดยไม่ปวดไม่เมื่อย ผมเองใหม่ๆก็แบบพี่นี่
แหละครับ ปั่นไปเรื่อยๆ จากแต่เดิมหมอบจับแฮนด์ล่างไม่ได้ เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าหมอบจับแฮนด์ล่างแล้วสบายดี
ไม่อู้ลม

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การฝึก Lactic - Anaerobic

การฝึก Lactic - Anaerobic
การฝึกซ้อมจักรยาน และซ้อมวิ่ง



...การฝึก Lactic-anaerobic เป็นการฝึกเพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยและทนทานต่อการสะสมของกรด Lactic acid อีกทั้งจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของเราด้วย

...Lactic-anaerobic training มีอยู่ 2 วิธี คือ Interval training และ Race pace training

สำหรับ Interval training แยกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ Regular interval และ แบบ Additional resistance interval training

...การฝึกนั้น ไม่ว่าจะเป็น Interval training หรือ Race pace training ต่างก็เป็นการฝึกที่จะต้องทำให้ อัตราการเต้นของหัวใจสูง(มาก) อย่างไรก็ตามการฝึกชนิดนี้ อัตราความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจะมีมาก วิธีที่จะป้องกันการบาดเจ็บจากการฝึกชนิดนี้ ก็คือ ก่อนการฝึกจะต้องทำการ Warm up ให้เพียงพอ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาทีและหลังจากการฝึกก็จะต้องทำการ Cool dawn อีกประมาณ 10 – 15 นาที


อยากได้เครื่องซ้อมแบบนี้มาใช้เหมือนกันท่าทางจะมันส์พิลึก



การ Warm up อย่างพอเพียง หมายถึง การทำให้ร่างกายร้อนพอที่จะระเบิดพลัง

การทำให้ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้ออยู่ในสภาพพร้อม

การทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเตรียมพร้อมที่จะเผาผลาญสารอาหาร สร้างพลังงานส่งให้กล้ามเนื้อ (Metabolic systems)



...การฝึก Interval training จะ ให้ได้ผลสูงสุดก็ต่อเมื่อฝึกในระดับเดียวกับระดับ Lactic acid threshold (LT) หรือ เหนือกว่าระดับ Lactic acid threshold (LT) เล็กน้อย หรือ ฝึกให้หัวใจเต้นอยู่ในระดับ 80 % - 90 % ของ MHR (Maximum Heart Rate)



...สำหรับมือใหม่ หรือ ผู้ที่ห่างเหินจากการฝึกไปนาน ระดับความทนทานต่อการสะสมของกรด Lactic acid อาจจะต่ำกว่า 80 % ของ MHR นั่นหมายความว่า เมื่อฝึกจนอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับ 80% ของ MHR การสะสมของกรด Lactic จะสูงมากจนทนต่อไปไม่ได้ กล้ามเนื้อหยุดทำงาน ในขณะที่มือเก่าฝึกประจำ หรือ นักกีฬามือเก่าชั้นเยี่ยมและได้ทำการฝึกต่อเนื่องติดต่อกันมานาน ความทนทานต่อกรด Lactic ของพวกเขาจะสูงมาก บางทีอาจจะสูงกว่าระดับ 90 % ของ MHR เลยทีเดียว นั่นก็หมายความว่า แม้อัตราการเต้นของหัวใจจะสูงกว่า 80 % ของ MHR กรด Lactic ก็จะไม่สะสมมาก อีกทั้งยังสามารถขจัดออกได้ดีนอกจากนี้ยังทนนานต่อการสะสมของกรด Lactic อีกต่างหาก สรุปให้เห็นถึงความสามารถของนักไตรกีฬาเหล่านี้สั้นๆ 2 ประการ คือ ความสามารถในการกำจัดกรด Lactic ออกจากร่างกายได้ดีกว่า และ ความสามารถในการทนต่อการสะสมของกรด Lactic ได้ดีกว่าอีกด้วย



...วิธีการฝึก การฝึกชนิดนี้ ช่วงหนัก ให้เร่งความเร็ว ระหว่าง 2 ถึง 10 นาที และ ช่วงผ่อน นั้นต้องผ่อนความเร็วลงให้มีระยะเวลานานพอที่หัวใจจะเต้นช้าลงในระดับ 60 % - 65% จุดมุ่งหมาย หรือ วัตถุประสงค์ ก็เพื่อผ่อนคลายให้หายเหนื่อย ให้ร่างกายได้มีช่วงเวลาที่จะกำจัดกรด Lactic เหมือนกับช่วงระบายของเสียลงท่อระบาย



...สำหรับการฝึก Regular interval training ได้แก่ การฝึกในทางราบ ลมสงบ หรือทะเลเรียบ ส่วน Additional resistance interval training นั้น ได้แก่ การฝึกในสภาพถนนหนทางที่ลาดเอียงขึ้น อาจจะเป็นการปั่นจักรยาน หรือวิ่งขึ้นภูเขา หรือ วิ่ง หรือ ปั่นจักรยานทวนลม หรือ ว่ายทวนน้ำ หรือ ว่ายทวนคลื่น หรือ การว่ายน้ำที่แบบใช้ Drag suit (ชุดเพิ่มแรงต้านน้ำ) การฝึกแบบนี้ จะมีผลต่อการพัฒนา ประสิทธิภาพของระบบ Neuromuscular ของร่างกายมาก



...การฝึกวิ่ง Short speed ในเวลา 10 วินาที จะต้องมีช่วงผ่อนลงด้วยการเดิน 3 เท่าเวลาที่เร่งความเร็ว นั่นคือ เดินให้หายเหนื่อย 30 วินาทีแล้วจึงฝึกวิ่งเร็วอีก 10 วินาที ทำเช่นนี้สลับกันไป สรุปง่ายๆก็คือ เร็วสลับช้า หนักสลับเบา นั่นเอง



...การฝึกวิ่ง Long speed ในเวลา 30 วินาที ก็จะต้องวิ่งช้าเพื่อผ่อนด้วยเวลา 3 เท่าของความเวลในช่วงของความหนักหน่วงที่เน้น นั่นก็คือ 90 วินาที จากนั้นจึงวิ่งเร็วอีก 30 วินาทีและผ่อนลงอีก 90 วินาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนครบกำหนดเวลาฝึก Interval ที่ตั้งเป้ากำหนดไว้ในคราวนั้นหรือในวันนั้น

...การฝึก Speed endurance ในระดับประมาณ 90% - 95% ของ Maximal effort ในเวลา 80 วินาที จะต้องวิ่งช้า(Jogging) เพื่อผ่อนด้วยเวลา 2 เท่าของเวลาในช่วงที่วิ่งหนัก นั่นก็คือ 160 วินาที (2 นาที 40 วินาที)



...การฝึก Endurance ในระดับ 80% - 90% ของ Maximal effort ในเวลา 3 นาที ซึ่งจะต้องพัก(Rest) เป็นเวลา 3 นาที ขอเตือนว่า การฝึกชนิดนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงมาก หากไม่มีพื้นฐานด้าน Endurance แน่นหนาเพียงพอ…....อย่า เพราะหากเกิดบาดเจ็บจนกล้ามเนื้อฉีกแล้ว อาการบาดเจ็บมันจะเรื้อรังและกลายเป็น อุปสรรค์ซึ่งจะคอยขัดขวางไม่ให้คุณก้าวเดินไปในเส้นทางสายกีฬาได้ราบรื่นยาวนานอย่างที่ควรจะเป็น




...การฝึก Interval เพื่อพัฒนา ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular) นั้น จะต้องฝึกให้ร่างกายของเรามีประสิทธิภาพทางด้าน Biomechanics ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ว่ายน้ำ จักรยาน วิ่ง หรือ Weight training



...สำหรับ Race pace training นั้น หนักกว่า Interval training เนื่องเพราะมันเป็นการฝึกในสภาวะ Fatigued state ซึ่งช่วงระยะเวลาการเร่งความเร็วจะมากกว่าและนานกว่า 10 นาที





..การฝึกอย่างมีระบบ ด้วยความเข้าใจ นอกจากจะเกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังสิ้นเปลืองเวลาและเงินทองน้อยกว่า “คนที่ไม่รู้เรื่อง” มากทีเดียว และที่สำคัญ คือ โอกาสที่จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บก็น้อยลงด้วย

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

CLIMBING ACCELERATION

CLIMBING ACCELERATION


warm up 10 นาที รอบขา 90 zone 1

seated climbing(นั่ง) 3 นาที รอบขา 85 zone 2

climb. acc. seat(นั่ง) 30 วินาที รอบขา 95 zone 5b

climb. acc. stand (ยืนปั่น) 30 วินาที รอบขา 95 zone 5c

seated climb. 3 นาที 80 zone 2

climb. acc. seat 30 วินาที รอบขา 90 zone 5b

climb. acc. stand 30 วินาที รอบขา 90 zone 5c

seated climb. 3 นาที รอบขา 75 zone 2

climb. acc. seat 30 วินาที รอบขา 80 zone 5b

climb. acc. stand 30 วินาที รอบขา 80 zone 5c

recovery 6 นาที รอบขา 90 zone 1


seated climb. 3 นาที รอบขา 85 zone 2

climb. acc. seat 30 วินาที รอบขา 95 zone 5b

climb. acc. stand 30 วินาที รอบขา 95 zone 5c

seated climb. 3 นาที รอบขา 80 zone 2

climb. acc. seat 30 วินาที รอบขา 90 zone 5b

climb. acc. stand 30 วินาที รอบขา 90 zone 5c

seated climb. 3 นาที รอบขา 75 zone 2

climb. acc. seat 30 วินาที รอบขา 80 zone 5b

climb.acc. stand 30 วินาที รอบขา 80 zone 5c

cool down 10 นาที รอบขา 90 zone 1

These workouts will improve your ability to adapt to changes in intensity during long climbs. These workouts assist in developing and clearing lactate while under high resistance such as climbing. Attack and recovery on climbs!

anaerobic power

anaerobic power

warm up 10 min. รอบขา 90 zone 1

interval 30 sec. รอบขา 105 zone 5c

recovery 3 min. รอบขา 90 zone 1

* ทำซ้ำทั้งหมดแปดชุด

cool down 10 min. รอบขา 90 zone 1


*** These high power workouts will assist in the tolerance and buffering of lactic acid and utilizes it as an additional source of energy. Attack the pack and power away to the finish line.

LACTATE THRESHOLD

LACTATE THRESHOLD [ 70 mins.]

warm up 10 min. cad. 90 zone 1
Lt. interval 20 " " 100 " 4
recovery 10 " " 90 " 1
Lt. interval 20 " " 100 " 4
cool down 10 " " 90 " 1

These workouts will increase your lactate threshold. Once lactic acid accumulates in the muscles,fatigue sets in,and you are forced to slow down. Training with lactate threshold intervals teaches the body to tolerate lactate acid and increase speed at this level. Set your personal record in a time trial or simply stay with the lead group off the front of the pack!

ดูเหมือนง่ายนะครับ แต่ขอบอกว่าเหนื่อยมากๆ ใครพื้นฐานยังฝึกมาไม่มากพอ อย่าเพิ่งฝึกนะครับ เดี๋ยวจะ over train โปรแกรมนี้ใช้เวลาฝึกประมาณ 1-2 เดือน ฝึกจบลงแข่ง itt ได้เลยครับ

Heart rate zone

ก่อนจะเข้าเรื่อง heart zone เราต้องมีอุปกรณ์และข้อมูลดังนี้
1.heartrate monitor แนะนำ polar ไว้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (แม้รุ่นถูกที่สุดสองพันกว่า)ก็เที่ยงตรงครับของ cateye ผมใช้มาสองรุ่นแล้ว ไม่ work ครับ
2.ค่า max heart คือค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของแต่ละคน ซึ้งต้องหามาให้ได้เพื่อที่เราจะใช้มันเป็นตัวตั้ง 100% สำหรับการคำนวณหาช่วงต่างๆของความเข้มข้นในการซ้อมครับ เนื่องจากระดับความหนักของการปั่นจะวัดได้ด้วยการใช้อัตราการเต้นของหัวใจ{hr}ดังนั้นเมื่อจะแบ่งระดับความเข้มข้นหรือหนัก ก็ต้องใช้ hr นี้เหมือนกันเพื่อมาเป็นตัวแบ่ง ซึ่งเราสามารถแบ่งได้ในระดับของเปอร์เซนต์ [zone] ดังนี้

แบบที่ 1

zone 1 50-60% ของ max hr
zone 2 60-70% ของ max hr
zone 3 70-80% ของ max hr
zone 4 80-90% ของ max hr
zone 5 90-100% ของ max hr และอีกแบบคือ

แบบที่ 2

zone1 เป็นการปั่นจักรยานแบบสบายๆนานๆเพื่อเป็นการฟื้นสภาพ(recovery)
zone2 ปั่นสบายๆเมือนกันยังหายใจได้สดวก เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากหลายทาง รวมทั้งเผาผลาญไขมันได้มากในโซนนี้
zone3 ช่วยบริหารหลอดเลือด เพิ่มจำนวนเซลเม็ดเลือดแดง ระบบการหายใจดีขึ้น ร่างกายจะหลังสารเอ็นโดฟินในโซนนี้
zone4 ช่วยในการดุดซึมออกซิเจนได้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มของทนทานต่อกรดแลคติก หายใจลำบาก
zone5 การเต้นของหัวใจที่หนักมากอาจถึงที่สุด เพิ่มความแข้งแกร่งและความเร็ว

การฝึกรอบขาพื้นฐาน (peadaling technic)

By . เป้(MAHACHAI)
Full Details : http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=115384

การฝึกรอบขาพื้นฐาน (peadaling technic)

warm up 10 min. รอบขา 90 gear เบา heartrate zone 1
spin-up 1 min. รอบขา 80-160 gear ปานกลาง heart zone 1-2-3
recovery 2 min. รอบขา 90 gear เบา heart zone 1
ทำซ้ำ 4 ครั้ง ครั้งสุดท้าย recovery 4 min. ตามด้วย

single leg (ขาขวา) 2 min.รอบขา 50 gear หนักปานกลาง heart zone 2-3 สลับด้วยขาซ้ายอีก 2 min.ทันที
recovery 2 min. ต่อด้วย
single leg (ขวา) 2 min. รอบขา 85-90 gear เบา heart zone 2-3 สลับด้วยขาซ้ายทันที
recovery 10 min.
ใช้เวลา 44 min. ฝึก 4-5 วัน ในหนึ่งสัปดาห์ ไม่เกินเดือนเห็นผล 100 %
ฝึกรอบขาพืนฐานแล้ว ควรฝึกเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย (peadaling strength) ต่อเนื่องหรือฝึกสลับกับ peadaling technic)ไปด้วย
ฝึกทั้งสอง คอร์สนี้จบแล้วตามกลุ่มแรงไม่มีหลุดกลุ่ม ถ้าอยากพัฒนาเพิ่มอีก มีฝึกต่อไปเรื่อยๆครับ
==========================================================================

peadaling strength [ 75 mins.]

warm up 10 min. รอบขา 90 เกียร์เบา zone 1
interval 10 min. รอบขา 55 เกียร์หนัก zone 3
recovery 5 min. รอบขา 100 เกียร์เบาสุด zone 1
ทำซ้ำอีกสามชุด รวมเป็น 4 ชุด
cooldown 10 min.รอบขา 90 zone 1

การ warm up ของ ps. เริ่มจากเกียร์เบาก่อนแล้วปรับความหนักขึ้นเรื่อยๆทีละน้อยๆจนใกล้ครบ 10 นาทีให้ heart zone เกือบ zone 2
intreval ให้ใช้เกียร์หนัก จะหนักแค่ไหนอยู่ที่ความฟิตของแต่ละคน สิ่งสำคัญคุม heart zone อย่าให้ข้ามไป zone 4 (ไม่ต้องรีบร้อนครับเดี๋ยวต่อไปได้ไปฝึกใน z4 แน่)
ช่วง interval 10 นาที ฝึกใหม่อาจจะดูนานและเหนื่อย แนะนำให้แบ่ง 10 นาทีนี้ เป็นช่วงๆเช่น 3 นาทีแรก นั่งกลางเบาะจับแฮนด์ล่าง อีก 3 นาทีถัดมา นั่งมาทางหลังเบาะเปลี่ยนตำแหน่งมือจับ อีกสามนาทีถัดมา นั่งมาด้านหน้าเบาะ เอาท่อนแขนพาดแฮนด์(ถ้ามีแอร์โร่บาร์ก็ใช้ได้เลย) นาทีสุดท้าย ยืนปั่นครับ ทำแบบนี้เวลาจะผ่านไปเร็วขึ้นครับ และเป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อขาทุกส่วนได้ครบครับ
ฝึกโปรแกรมนี้ได้ทั้งความแข็งแรงและทนทานครับ ยิ่งฝึกต่อเนื่องเราจะเห็นความพัฒนาของเรา ช่วงสัปดาห์แรกจะเหนื่อยหน่อย ต่อไปเราจะรู้สึกเบาขึ้น หรือเหนื่อยเท่าเดิมแต่ปั่นได้หนักขึ้นในอัตราการเต้นของหัวใจเท่าเดิม(ฟิตขึ้น) เราเช็คความฟิตของตัวเราได้จาก การจับชีพจรก่อนตื่นนอน[resting heartrate] ตอนเช้าตื่นนอนก่อนลุกจากที่นอน ให้จับชีพจรก่อนว่าเต้นเท่าไรในหนึ่งนาทีแล้วจำไว้ และเช็คแบบนี้ทุกวัน ถ้าเราฝึกต่อเนื่อง ชีพจรจะเต้นช้าลงเรื่อยๆ นั่นแสดงว่าเราฟิตขึ้นครับ
ฝึกตามโปรแกรมพืนฐานสองโปรแกรมครบ 4 เดือน จากขาอ่อนจะกลายเป็นขาแรงทันทีครับ(อย่าลืมปั่นยาวๆเสริมด้วยนะครับเพื่อเพิ่มความอึด) และถ้าฝึกเพิ่มอีกสองโปรแกรมต่อไป จากขาแรงจะกลายเป็นนักแข่งได้เลยครับ แล้วจะค่อยๆลงโปรแกรมการฝึกให้ครับ
=====================================================================
 
เกียร์เบา ปานกลาง หนัก คือเกียร์ใดบ้าง

ตอบ.. เกียร์เบาคือ ปั่นแล้วรู้สึกสบายๆไม่เหนือย เป็นเกียร์พักขา(recovery) เน้นคุมที่ heart zone มากกว่าครับ ในที่นี้อยูที่ zone 1
เกียร์ปานกลางและเกียร์หนักตามโปรมแกรมพื้นฐาน เน้นที่การคุมโซนเหมือนกันครับ ให้อยู่ที่zone3 ฉะนั้นความหนักเบาของแต่ละคนจะไม่เท่ากันครับ แล้วแต่ความฟิต เช่นนาย A ปั่นเสือหมอบจานหน้าใหญ่ เฟืองหลังใบกลาง ระหว่างปั่น heart zone อยู่กึ่งกลางของโซน 3 นาย B ปั่นหมอบจานหน้าเล็ก เฟืองหลัง กลาง ระหว่างปั่น heart zone อยูที่กึ่งกลางของโซน 3เหมือนกัน รู้สึกเหนื่อยเท่ากัน แต่งานที่ได้(ความเร็วหรือวัตต์)ต่างกันครับ จะเห็นได้ว่า นาย A ฟิตและแข็งแรงกว่านาย B ฉะนั้นจึงไม่ต้องสนใจว่าเราปั่นอยู่ที่เกียร์ไหน ดูที่อัตราการเต้นของหัวใจพอครับ
ถ้าบางโปรแกรมออกแบบมาให้ฝึกโดยยึดความหนัก-เบาโดยดูที่เกียร์หน้า-หลัง โดยไม่คุม heart zone คนที่ไม่ฟิตจะปั่นตามโปรแกรมนั้นไม่ได้ครับ เช่น การฝึก time trail ของโปรมแกรม a เริ่มต้น warm up จานหน้าเล็ก เฟืองหลัง ใหญ่สุด 5 นาที ต่อจากนั้นทำ interval
20 นาทีโดยใช้เกียร์หนักสุด (จานหน้าใหญ่-เฟืองหลังเล็ก) ลองคิดดูซิครับว่าจะทำกันได้ทุกคนไหม การฝึกแบบนี้จะใช้ได้สำหรับคนที่ฟิตจริงๆเท่านั้นครับ แต่ถ้าเรายึดโปรแกรม a ในการฝึก มีทางเดียวที่จะทำตามได้ โดยต้องปรับความหนักของเกียร์ลงมาเท่านั้นครับ แต่จะไม่ได้ผลตรงตามเจตนารมณ์ของผู้ออกแบบโปรแกรมครับ

ดังนั้นการเลือกใช้เกียร์หนัก เบา ของแต่ละคนจะไม่เท่ากันนะครับ
 
==============================================================
VO2 MAX TRAINING[56 MIN]
warm up 10 min. รอบขา 90 heart zone 1
interval 3 " " 95 " " middle of zone 5
recovery 3 " " 85 " " 1
interval 3 " " 95 " " middle of zone 5
recovery 3 " " 85 " " 1
interval 3 " " 95 " " middle of zone 5

recvery 6 " " 90 " " 1

intreval 3 " " 95 " " m.of z.5
recovery 3 " " 85 " " 1
interval 3 " " 95 " " m.of z.5
recovery 3 " " 85 " " 1
interval 3 " " 95 " " m.of z.5

cool down 10 " " 90 " " 1

VO2 MAX TRAINING....these workouts will increase your VO2 MAX capacity. VO2 MAX is the maximum amout of oxygen delivered to the muscle and is a measurement of a strong cyclist. THE VO2 MAX interval increase the oxygen supply to muscles. Bridge gaps and cover attacks with ease!
 
=============================================================